Fire Pump

 

ผู้นำด้านระบบวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร “Safety Engineering Solution” ตั้งแต่การให้คำปรึกษาการตรวจสอบ การรับรองคุณภาพ การออกแบบติดตั้งระบบกำจัดฝุ่น ระบบความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ตรวจสอบระบบดับเพลิง และการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน การให้บริการ หลังการขายและศูนย์ซ่อมบำรุงครบวงจร

บริการรับตรวจสอบระบบดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ทดสอบประสิทธิภาพปั๊มดับเพลิง ตามมาตรฐานโดยวิศวกรผู้ชำนาญ พร้อมออกรายงานรับรอง และให้คำแนะนำและปรับปรุงระบบดับเพลิงให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ปัจจุบัน มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในการตรวจสอบระบบดับเพลิง มี 2 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association)

บริการตรวจสอบประจำปี ตามมาตรฐานสากล หรือมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย พร้อมทดสอบประสิทธิภาพปั๊มดับเพลิง เพื่อให้เครื่องมือการทำงานตามมาตรฐาน ISO 9001  บริการตรวจบำรุงรักษา ปั๊มดับเพลิงเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตรวจสอบตู้ควบคุมปั๊มดับเพลิง และอุปกรณ์ปั๊มดับเพลิง ตู้เก็บอุปกรณ์ ถังดับเพลิง และอุปกรณ์อื่นๆ ทุกชนิด เปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์ ทำความสะอาดปั๊มดับเพลิง  รับติดตั้ง ซ่อมแซม ระบบดับเพลิงอาคาร ติดตั้งระบบดับเพลิงโรงงาน ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงมาตรฐานเต็มระบบ ซ่อมแซมระบบไลน์ท่อดับเพลิง เดินระบบไฟฟ้าตู้ควบคุมระบบดับเพลิง บริการรวดเร็ว ราคาพิเศษ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

คุณ พีระพัฒน์ 086-902-4999

 

  • รับตรวจระบบดับเพลิงมาตรฐาน NFPA และวสท ตรวจระบบดับเพลิงโดยวิศวกร ตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง พร้อมออกรายงานรับรอง ดูแลตรวจเช็ค ทดสอบรายปี

  • บริการตรวจสอบระบบดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงทุกชนิดบริการ Service Contract ระบบ Fire pump หรือ ดูแลตรวจเช็ค ทดสอบรายปี

  • รับตรวจสอบและบำรุงรักษา ปั๊มน้ำดับเพลิง พร้อมตรวจเช็คปั๊มน้ำดับเพลิง ตรวจเช็คและทดสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิง Fire Pump System

  • รับตรวจ ซ่อม Fire Pump ระบบดับเพลิง บำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำดับเพลิง และทดสอบระบบดับเพลิง โดยทีมวิศวกร พร้อมใบรับรอง

  • ให้บริการงานทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ตรวจสอบรับรองระบบป้องกันอัคคีภัย ตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม รับรองรายงานการตรวจสอบโดยวิศวกร

  • รับตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ตรวจสอบการรั่วของน้ำ ตรวจสอบสภาพปั๊มและการติดตั้ง

  • บริการตรวจสอบระบบดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงทุกชนิด ตรวจสอบระบบ Fire Pump ระบบ Fire Alarm ระบบไฟฟ้า ทดสอบประสิทธิภาพปั๊มดับเพลิงตามมาตรฐาน

  • รับตรวจเช็คและซ่อมแซมระบบไฟปั๊ม(Fire Pump) ตู้ควบคุมไฟปั๊ม บริการเช็คและตรวจสอบ บำรุงรักษา อุปกรณ์ และการทำงานของระบบดับเพลิง

  • ตรวจสอบระบบท่อและวาล์วต่างๆ ภายในห้องเครื่อง (Fire Pump) Foot Valve , Valve, Check Valve ท่อด้านจ่าย, Pressure Gauge ตรวจสอบการปิด-เปิดวาล์วและสภาพวาล์วภายในห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

 

บริษัท พีพีเซฟตี้ จำกัด  ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 โดยทีมวิศวกรความปลอดภัยที่มีประสบการณ์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะเป็น ผู้นำด้านระบบวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร “Safety Engineering Solution” ตั้งแต่ การให้คำปรึกษาการตรวจสอบรับรองคุณภาพ การออกแบบติดตั้งระบบกำจัดฝุ่น ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

การอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงาน การให้บริการหลังการขายและศูนย์ซ่อมบำรุงครบวงจร  จากประสบการณ์ที่ผ่านมาความเชื่อมั่นในผลงาน และความประทับใจของลูกค้าที่ใช้บริการ ปัจจุบัน บริษัท พีพีเซฟตี้ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่าย และติดตั้งระบบเครื่องดูดฝุ่น (Dust collector) และผลิตภัณฑ์ของ Donaldson ประเทศไทย และเป็นผู้แทนจำหน่าย และติดตั้ง ระบบอุปกรณ์กันตก (Miller Fall protection) ของ Honeywell  ประเทศไทย อย่างเป็นทางการ

จากการที่กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวง กำหนดให้สถานประกอบการที่มีการติดตั้งระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิง ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองจากวิศวกร  ประกอบกับข้อกำหนดของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ.2552 ซึ่งกำหนดให้ต้องมีการทดสอบปริมาณการสูบน้ำและความดันของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงทุกปี ดังนั้นเพื่อให้ระบบดับเพลิงมีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลาและเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจึงต้องมีการทดสอบประสิทธิภาพ (Performance Test) เป็นประจำทุกปีและรับรองผลการทดสอบโดยวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาที่เกี่ยวข้อง

รับตรวจสภาพเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump) ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงาน ไปยังของเหลว ก๊าซ หรือ ของเหลวที่มีของแข็งเพื่อทำให้ของเหลวเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งที่อยู่สูงกว่าหรือ ในระยะทางที่ไกลออกไป โดยการเพิ่มพลังงานเข้าไปในระบบ  ทำการตรวจสอบระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งระบบขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำดับเพลิง จะมี 2 ประเภทที่จะต้องตรวจสอบคือ 1 ตรวจระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 2. ตรวจสอบระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะสามารถแยกได้ 2 แบบ 1 ระบบ Heat Exchanger Cooled คือ ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ โดยใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน 2 ระบบ Radiator Cooled คือ ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ โดยใช้รังผึ้งระบายความร้อนด้วยพัดลมจากเครื่องยนต์

 



 

Fire Pump ปั๊มดับเพลิงที่ใช้ในการส่งน้ำในระบบดับเพลิง เมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้น ทำให้น้ำไหลผ่านท่อและสปริงเกอร์เพื่อดับเพลิง ส่วน Jockey Pump คือ ปั๊มเสริมแรงดัน ใช้สำหรับรักษาความดันน้ำในระบบเมื่อยังไม่มีไฟไหม้ เพื่อไม่ให้ความดันในระบบตก จนส่งผลกระทบต่อการทำงานของ Fire Pump เรารับดูแลตรวจสอบ ปั๊มดับเพลิงเพื่อให้ทั้ง Fire Pump และ Jockey Pump ทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ควรตรวจสอบสภาพของปั๊ม รวมถึงท่อ วาล์ว และสปริงเกอร์ เพื่อควบคุมคุณภาพของระบบ 

ปั๊มดับเพลิง (Fire pump) คืออุปกรณ์ที่มีความสำคัญในระบบดับเพลิงของอาคารหรือสถานที่ต่างๆ ปั๊มดับเพลิงมีหน้าที่ส่งน้ำไปยังระบบดับเพลิง เช่น หัวฉีดน้ำ, สายสูบน้ำ, และระบบสปริงเกอร์ โดยมีความดันและปริมาณน้ำที่เหมาะสมเพื่อดับเพลิงและป้องกันการลามของไฟ  ปั๊มดับเพลิงมีหลายประเภท โดยสามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานและแหล่งกำลัง ดังนี้ 

1.ปั๊มดับเพลิงแบบเทคโนโลยีเชื่อมต่อไฟฟ้า (Electric Motor Driven Fire Pump): ปั๊มน้ำดับเพลิงที่ใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าเป็นแหล่งกำลัง สามารถใช้งานได้ในที่ที่มีแหล่งไฟฟ้าเสถียร

2.ปั๊มดับเพลิงแบบเครื่องยนต์เชื้อเพลิง (Diesel Engine Driven Fire Pump): ปั๊มน้ำดับเพลิงที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นแหล่งกำลัง สามารถใช้งานได้ในที่ที่ไม่มีแหล่งไฟฟ้า หรือใช้เป็นระบบสำรอง

3.ปั๊มดับเพลิงแบบควบคุมด้วยความดัน (Pressure-Controlled Fire Pump): ปั๊มน้ำดับเพลิงที่ควบคุมการทำงานตามความดันของน้ำในระบบดับเพลิง  การเลือกและติดตั้งปั๊มดับเพลิง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งและข้อกำหนดที่กำหนดโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคำนึงถึงขนาดของอาคาร, ระบบดับเพลิงที่มีอยู่, และความต้องการในการดับเพลิง เช่น ปริมาณน้ำ, ความดัน, และความเร็วในการส่งน้ำ 

นอกจากนี้ การบำรุงรักษาปั๊มดับเพลิงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตามคำแนะนำของผู้ผลิต หรือตามมาตรฐานการบำรุงรักษาปั๊มดับเพลิงที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ปั๊มดับเพลิงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อความปลอดภัยสูงสุดในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ 

ในการบำรุงรักษาปั๊มดับเพลิง ควรดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่: ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์, ตรวจสอบสภาพปั๊ม, ตรวจสอบและทำความสะอาดกรองน้ำ, ทดสอบการทำงาน, และบันทึกข้อมูลและประวัติการบำรุงรักษา  การเลือกและติดตั้งปั๊มดับเพลิงที่เหมาะสม รวมถึงการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความปลอดภัยของทรัพย์สินและชีวิต ในที่ที่มีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไฟไหม้  ปั๊มดับเพลิงหรือปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump) เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำดับเพลิงแบบสปริงเกอร์ (Fire Sprinkler) หรือระบบ Fire Hose ที่จะทำหน้าที่ป้อนน้ำเข้าสู่ระบบด้วยปริมาณและแรงดันที่เพียงพอต่อการทำงานของระบบดับเพลิง(Fire pump system) ที่ออกแบบไว้  ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump system) ประกอบด้วย  ปั๊มน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump) ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ตู้ควบคุมปั๊มน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump Controller) ตู้ควบคุมปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump Controller) Pressure Relief Valve ขนาดของปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ตามมาตรฐานสากลนั้น มีการกำหนดขนาดของปั๊มน้ำดับเพลิงได้อย่างชัดเจน 

ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump) ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยอัตโนมัติ โดยจะรักษาความดันน้ำภายในท่อให้พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา โดยจะตั้ง ระดับความดันที่สวิทช์ความดัน (Pressure Switch) ไว้ 3 ระดับ สมมุติเช่น  ระดับความดันที่ 1 (100 Psi.) จะทำให้ Jockey Pump ทำงาน ระดับความดันที่ 2 (120 Psi.) จะทำให้ Jockey Pump หยุดทำงาน (เป็นระดับความดันภายในท่อปกติ) ระดับความดันที่ 3 (80 Psi.) จะทำให้ Fire Pump ทำงาน ในภาวะปกติถ้าความดันของน้ำภายในท่อลดลงต่ำกว่าที่ตั้งเอาไว้ที่สวิตช์ความดันระดับที่ 1 เช่น ระบบท่อมีการรั่วซึมเล็กน้อย จะทำให้ปั๊มน้ำ JOCKEY PUMP ทำงานจนกระทั่งภายในท่อมีความดันตามที่กำหนด (ระดับความดันที่ 2) จึงจะหยุดทำงาน 

ถ้ามีการดึงสายฉีดน้ำดับเพลิงออกมาใช้งานจะทำให้เกิดความดันลดลงอย่างรวดเร็ว Jockey Pump ก็จะทำงาน แต่ทำงานแล้วยังไม่สามารถ ควบคุมความดันไว้ให้สูงกว่าระดับความดันที่ 3 ฉะนั้นเมื่อความดันน้ำในท่อลดลงมาถึงระดับความดันที่ 3 เครื่องสูบน้ำ Fire Pump ก็จะทำงานทันที  เมื่อหยุดใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงแล้ว ความดันในท่อจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับความดันที่ 2 Jockey Pump ก็จะหยุดทำงาน แต่ปั๊มน้ำดับเพลิงจะไม่หยุดทำงาน จะต้องมีคนไปปิดสวิทช์หยุดการทำงานของ เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถ้าให้ปั๊มน้ำดับเพลิงหยุดทำงานอัตโนมัติ อาจเกิดปัญหาเมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานเองขณะที่มีเหตุเพลิงไหม้ได้ 

ฉะนั้นตามมาตรฐาน NFPA 20 จึงแนะนำให้การทำงานของระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) เป็นแบบเริ่มทำงานแบบอัตโนมัติและหยุดการทำงานด้วยมือ  สำหรับระบบการป้องกันของเครื่องยนต์โดยให้หยุดการทำงาน มีกรณีเดียว คือความเร็วรอบเกิน (Over Speed) เพราะจะเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับปั๊มน้ำ หรือทำให้ความดันน้ำในท่อมากเกินไปซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ต่างๆในระบบท่อ แต่ในการติดตั้งระบบดับเพลิงก็จะมีการติดตั้ง Pressure Relive Valve ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบายน้ำ เมื่อมีความดันน้ำในท่อมากเกินความต้องการของระบบ  การทำงานของระบบปั๊มน้ำดับเพลิงต้องถูกตั้งค่าให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพแวดล้อมของสถานที่ รวมถึงควบคุมโดยผู้ดูแลระบบดับเพลิงที่มีความรู้และประสบการณ์ในการดูแล การบำรุงรักษาและการตรวจสอบประจำปี จะช่วยให้ระบบปั๊มน้ำดับเพลิงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรับรองความปลอดภัยในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

Visitors: 22,525